การจัดการธุรกิจฟาร์มเพาะพันธ์ลูกสุนัข
หลักสูตรธุรกิจฟาร์มเพาะพันธ์ุลูกสุนัข เป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะต่างๆ ตั้งแต่การเตรียมสถานที่เลี้ยง การเลือกสายพันธ์ุที่เหมาะสมที่นิยมเลี้ยง การดูแลลูกสุนัขแรกเกิดจนถึงวัยชรา การผสมพันธ์ุสุนัข การตั้งท้อง การคลอด การดูแลลูกสุนัขแรกเกิด ปัญหาของระบบสืบพันธ์ุที่พบบ่อย การเลี้ยงและดูแลลูกสุนัข การถ่ายพยาธิ โรคติดเชื้อที่พบบ่อยในลูกสุนัข การทำวัคซีนป้องกันโรค
1.ผู้สนใจในการเลี้ยงสุนัขทั่วไป
2.ผู้สนใจในการที่จะประกอบอาชีพเสริมคือเพาะเลี้ยงลูกสุนัขขาย
3.ศิาย์เก่าสัตวรักษ์ ศิษย์เก่าวิทยาศาสตร์สุขภาพและสัตวเวชศาสตร์ ที่ต้องการพัฒนาความรู้และทักษะด้านสัตว์เลี้ยงให้มากขึ้น
ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานอะไรเป็นพิเศษ ขอให้มีประสบการณ์ในการเลี้ยงสุนัขมาบ้าง มีความรักสัตว์ และมีความสนใจในการเลี้ยงสุนัขหรือทำฟาร์มเพาะพันธ์ุลูกสุนัขขาย
1.สายพันธ์ุสุนัขที่นิยมเลี้ยง / การเลี้ยงสุนัข
2.เทคนิคดารผสมพันธุ์สุนัข / การตรวจสอบการตั้งท้อง การดูแลแม่สุนัขขณะตั้งท้อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของลูกขณะอยู่ในท้อง กระบวนการคลอด การดูแลแม่สุนัขในระยะต่างๆ การช่วยคลอดในกรณีคลอดยาก ปัญหาที่มักพบ
3.การดูแลลูกสุนัขแรกเกิดจนกระทั่งลูกสุนัขพร้อมจำหน่าย
1.การวัดผล (รวม 100 คะแนน)
1.1 การเข้าเรียนภาคทฤษฎี - 50 คะแนน
1.2 การปฏิบัติงาน - 50 คะแนน
2.การประเมินผล
2.1 ระดับคะแนน 80-100 คะแนน = PD
2.2 ระดับคะแนน 60-79 คะแนน = S
2.3 ระดับคะแนน 0-59 คะแนน = U
3.ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ได้รับภายหลังจากการเรียนรู้ในหลักสูตร ประกอบด้วย
3.1 ด้านความรู้ มีความรู้ความเข้าใจทางด้านสายพันธุ์สุนัข การดูแลสุนัขในวัยต่างๆ สรีรวิทยาการสืบพันธุ์ของสุนัข การผสมพันธ์ุของสุนัข กระบวนการตั้งท้องและการคลอด ตลอดจนการดูแลจัดการลูกสุนัขแรกเกิดจนถึงจำหน่าย โรคและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของสุนัข
3.2 ทัศนคติ สามารถมองภาพรวมในการจัดการเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสุนัข โดยเฉพาะกระบวนการทำงานของระบบสืบพันธุ์ของสุนัขทั้งเพศผู้และเพศเมีย ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธ์ุ
3.3 ทักษะ ได้เรียนรู้ทักษะต่างๆและสามารถปฏิบัติได้เอง เช่น ทักษะการเลี้ยงสุนัข การฝึกหัดสุนัข การรีดน้ำเชื่้อ การผสมเทียมในสุนัข การทำคลอด การช่วยคลอด การดูแลลูกสุนัขแรกเกิด ตั้งแต่การจัดสายสะดือ การช่วยหายใจ การผายปอด เป็นต้น
1. มีระยะเวลาเรียนและฝึกปฏิบัติตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2. มีผลการประเมินผลผ่านตลอดหลักสูตร ไม่น่้อยกว่าร้อยละ 60 ตามเกณฑ์ที่กำหนด