เตรียมความพร้อมสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ภาคความรู้ และทฤษฎี สาขาการดูแลผู้สูงอายุ ระดับ1
ความรู้ทั่วไปในการดูแลผู้สูงอายุ ความรู้เฉพาะอาชีพและการฝึกปฏิบัติในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุในด้านร่างกาย ด้านจิตวิทยา การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ภาวะโภชนาการที่เหมาะสมในผู้สูงอายุ การใช้งานและการดูแลรักษาอุปกรณ์ การขอความช่วยเหลือในกรณีผู้สูงอายุเจ็บป่วยฉุกเฉิน การจัดกิจกรรมนันทนาการและการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางสมองและจิตใจ เพื่อเตรียมความพร้อมสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ภาคความรู้ สาขาการดูแลผู้สูงอายุ ระดับ1
1.ผู้เข้ารับการอบรมและทดสอบต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3)
3.มีใบรับรองแพทย์เพื่อแสดงว่ามีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และไม่เป็นโรคติต่อ
4. ผ่านการฝึกอบรม หรืออบรมรับรองความรู้ภาควิชาชีพ สาขาวิชาชีพการดูแลผู้สูงอายุ ไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมง หรือ
5. ผ่านการฝึก หรืออบรมรับรองความรู้วิชาชีพ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง จากหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานที่รัฐให้การรับรอง และมีประสบการณ์การทำงานในสาขาการดูแลผู้สูงอายุจากหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ไม่น้อยกว่า 2 ปี
ไม่มี
1. ความรู้ทั่วไป
1.1 ขอบเขตการทำงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และจริยธรรมของผู้ดูแล
1.2 สภาพแวดล้อม และความปลอดภัยในที่พักอาศัย
1.3 ยา
2. ความรู้เฉพาะอาชีพ
2.1 ความต้องการของผู้สูงอายุ และการดูแลอย่างรอบด้าน
2.2 โภชนาการ
2.3 การใช้งานและการดูแลรักษาอุปกรณ์
2.4 วิธีขอความช่วยเหลือ ในกรณีผู้สูงอายุเจ็บป่วยฉุกเฉิน
2.5 การจัดกิจกรรมนันทนาการ และการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
2.6 การดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางสมองและจิตใจ
3. ความสามารถในการปฏิบัติงาน
3.1 ความรู้ทั่วไป
ก.การดูแลความสะอาด และอนามัยสิ่งแวดล้อม
ข.การปฐมพยาบาล
3.2 ความรู้เฉพาะอาชีพ
ก.การให้อาหาร น้ำ ตามคำสั่งแพทย์และพยาบาล
ข.การขับถ่าย
ค.การเคลื่อนไหว และการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ
ง.ยา
4. สอบวัดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ภาคความรู้ สาขาการดูแลผู้สูงอายุ ระดับ1 ภาคทฤษฎี
5. สอบวัดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ภาคความรู้ สาขาการดูแลผู้สูงอายุ ระดับ1 ภาคปฏิบัติ
การวัดผล
1. เก็บคะแนนระหว่างการฝึกอบรม (ร้อยละ 70)
- แบบบันทึกการเข้าชั้นเรียน
- แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
- แบบบันทึกผลการปฏิบัติการ
- แบบบันทึกกิจกรรมการศึกษาด้วยตนเอง
2. การทดสอบ (ร้อยละ 30)
การประเมินผล
การประเมินผลการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์โดยให้มีค่าระดับคะแนนโดยกำหนดสัญลักษณ์ระดับคะแนนการประเมินเป็น 8 ระดับ
1. มีระยะเวลาเรียนและฝึกปฏิบัติตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2. มีผลการประเมินผลผ่านตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่าระดับพอใช้ตามเกณฑ์ที่กำหนด